1918 จำนวนผู้เข้าชม |
เมืองไทยวัยเก๋าประกันชีวิตสำหรับผู้ที่มีพ่อแม่อายุ 50-75 ปี และมีโรคประจำตัว หากต้องการทำประกันชีวิต เพื่อคุ้มครองเสียชีวิต หากมีโรคประจำตัวเช่น โรคความดัน โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคหัวใจ เป็นต้น บริษัทประกันชีวิตส่วนใหญ่จะไม่รับประกันและไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อนทำประกัน เช่น หากเป็นโรคความดันและเสียชีวิตจะไม่จ่ายเงินสินไหมมรณะกรรมให้กับลูกหลานหรือผู้รับผลประโยชน์
สำหรับประกันชีวิตผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เมืองไทยวัยเก๋า ที่รับประกันโดยไม่ตรวจและไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพด้วยแบบประกันชื่อว่า เมืองไทยวัยเก๋าเพื่อผู้สูงอายุที่รับประกันผู้สูงอายุและคุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อนทำประกันโดยไม่ยกเว้น และคุ้มครองตามทุนประกันที่ลูกค้าซื้อไว้เลือกแผนคุ้มครองสูงสุดถึง 500,000 บาท หากเสียชีวิตจากโรคทั่วไป และคุ้มครองสูงสุด1,000,000 บาทหากเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ
1.รับประกันตั้งแต่อายุ 50 - 75 ปี
2. ชำระเบี้ยประกันถึงอายุ 90 ปี เช่น เริ่มทำอายุ 60 ปี ชำระเบี้ยถึง 90 ปี หรือ 30 ปี(หากเสียชีวิตหยุดจ่าย)
3. ครบอายุ 90 ปี ไม่เสียชีวิตรับทุนประกันตามที่เลือก 100,000 - 500,000 บาท
4. เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ เช่น อุบัติเหตุรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ คุ้มครองทันที 200,000 - 1,000,000 บาท
5. เสียชีวิตจากโรคทั่วไป ภายใน 2 ปีแรก( 24 เดือน) คืนเบี้ยประกัน + เงินเพิ่ม 2% เช่น ชำระเบี้ยปีแรก 10,000 บาทและเสียชีวิต รับเงินชดเชย 10,200 บาท
6. เสียชีวิตจากโรคทั่วไปตั้งแต่ปีที่ 3 เป็นต้นไป(25 เดือน) คุ้มครอง 100,000 - 500,000 บาท
7. เลือกชำระเบี้ย 2 แบบ คือ รายปี (จ่ายปีละ 1 ครั้ง)
8. ชำระรายเดือน (12 ครั้ง) เบี้ยแบบรายเดือนมีดอกเบี้ย8% มากกว่ารายปี และหากเสียชีวิตระหว่างปีจะได้เงินชดเชยไม่เต็มจำนวน ต้องชำระให้ครบ 12 งวดก่อน เช่น ทำทุนประกัน 100,000 บาท เสียชีวิตปีที่ 3 โดยจ่ายมา 25 งวด จะได้รับเงินชดเชย 100,000 - (ค่างวด*11 งวดที่ค้าง)
1. แจ้งปี พ.ศ.เกิดผู้ที่จะทำประกัน เช่น จะทำให้คุณพ่อ ให้แจ้งปี พ.ศ.เกิด เพื่อคำนวณเบี้ยประกันรับตั้งแต่อายุ 50 - 75 ปี ปีพ.ศ. เริ่มต้นที่ทำได้คือ 2566 - 2516 = 50 ปี ดังนั้นเกิดปี พ.ศ. 2516 ทำได้แต่เกิด 2517 ยังไม่สามารถทำได้ต้องรอปี 2567 และเกิดปี 2566 - 2491 = 75 ปี ดังนั้นเกิดปี พ.ศ. 2491 ทำได้ แต่เกิดปี 2490 ไม่สามารถทำได้แล้ว
2. เลือกจำนวนเงินเอาประกันหรือทุนประกันคุ้มครองที่ต้องการ มีตั้งแต่ 100,000 / 200,000 / 300,000 และ 500,000 บาท
3. เลือกประเภทชำระเบี้ย มี 2 แบบ คือ รายปี และ รายเดือน โดยขอแนะนำให้ทำแบบรายปีดีที่สุด เพราะทำรายเดือนมีข้อเสียดังนี้
1.ชำระเบี้ยมากกว่ารายปี เนื่องจากรายเดือนมีดอกเบี้ย 8% เทียบกับรายปี รายเดือนต้องจ่าย 13 งวด
2.หากขาดส่งเบี้ยประกัน 2-3 เดือนอาจจะทำให้ขาดความคุ้มครอง หากเสียชีวิตไม่ได้รับเงินชดเชย
3.หากเสียชีวิตระหว่างปี จะได้เงินทุนประกันไม่เต็มจำนวนเพราะต้องหักเบี้ยประกันที่ค้างอยู่ก่อน เช่น ทำทุน 100,000 บาท เบี้ยเดือนละ 1,000 บาท หากเสียชีวิตในเดือนที่ 30 จะต้องหักเบี้ยที่ยังไม่จ่ายอีก 6 เดือน หรือ 6,000 บาท จะได้รับเงินชดเชย 94,000 บาท
สนใจทำประกันชีวิตผู้สูงอายุสอบถามเพิ่มเติม/เช็คเบี้ยประกันที่นี่ :
กรณ์ธินันท์ ดำรงเวชวาณิชย์ (เบิร์ด)
ที่ปรึกษาการเงินและประกันชีวิต/ผู้จัดการขาย